รู้จักกับความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของ จป บริหาร
เมื่อใดก็ตามที่ตำแหน่งหน้าที่การทำงาน ได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเป็นระดับบริหารสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือต้องเข้ารับการอบรม จป บริหาร ตามที่กฎหมายกำหนด
กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบการ 3 ประเภทธุรกิจตามที่กระทรวงกำหนดต้องจัดให้ลูกจ้าง ได้รับการอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆคือ ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ โดยกำหนดให้นายจ้างดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
ใครหลายๆคน อาจจะสงสัย ทำไมหลายๆ กิจการต้องแต่งตั้ง จป บริหาร นั่นก็เพราะว่ากฎหมายกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565
ซึ่งบังคับให้กิจการหรือสถานประกอบการดังต่อไปนี้ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน หรือกิจการปิโตรเลียม ปิโตรเคมี การผลิตการซ่อมบำรุง งานก่อสร้าง การขนส่ง สถานีบริการน้ำมัน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล สถานบันเทิง สถาบันทางการเงิน สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ การกีฬา สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ และกิจการอื่นๆ ที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแต่งตั้ง จป บริหาร
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ(จป.) ทุกระดับ ล้วนมีความสำคัญต่อองค์กร สำหรับ จป บริหาร เองก็เช่นเดียวกัน พนักงานระดับผู้บริหารคนใดที่ได้รับการแต่งตั้งให้รับตำแหน่ง จป ด้วย น่าจะทราบข้อมูลกันดีว่าต้องไปอบรม จป.บริหารเสียก่อน ถึงจะปฏิบัติตามหน้าที่ได้ แต่ก่อนจะอบรมอยากให้ทุกท่านมาทำความรู้จักและเข้าใจเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯระดับนี้กันให้มากขึ้นก่อน
จป.บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร คือพนักงานที่มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้จัดการขึ้นไป และผ่านการอบรม จป.บริหารมาแล้ว อย่างน้อย 12 ชั่วโมง (ไม่จำเป็นต้องเป็น จปหัวหน้างานมาก่อน) หากกิจการนั้นๆไม่มีพนักงานระดับบริหาร ผู้ที่ต้องมาเป็นจป. ระดับนี้จะต้องเป็นนายจ้างหรือเจ้าของกิจการ ซึ่งเป็นการเป็นโดยตำแหน่ง
หัวข้อการอบรมหลักสูตร จป บริหาร
โดยหลักๆ แล้วจะประกอบไปด้วย 3 หมวดวิชา
- หมวดวิชาที่ 1 ก็คือ การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน และ
- หมวดวิชาที่ 3 คือ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารจะต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง
หน้าที่ของจป.บริหาร
จป.บริหาร มีความสำคัญต่อองค์กรไม่น้อย เพราะ
- กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
- เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
- ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
- กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคณะกรรมการ หรือหน่วยงานความปลอดภัย
ความสำคัญของจป.บริหาร
สถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอย่างน้อย 2 ระดับ คือระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร เพราะฉะนั้นจป.บริหารมีความสำคัญต่อองค์กรแน่นอน โดยมาตรา 13 ในพรบ.ความปลอดภัยฯ 2554 กำหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่ายงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ”
และในมาตรา 56 จากพรบ.ฉบับเดียวกัน กล่าวไว้ว่า “นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 16 หรือ มาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากข้อมูลทางด้านบนอธิบายได้ง่ายๆคือกิจการตามทางกระทรวงฯกำหนด จะต้องมีจป.บริหาร หากไม่มีถือว่านายจ้างทำผิดกฎหมาย มีโทษติดคุก ปรับเงินหรือทั้งจำทั้งปรับได้เลยทีเดียว
เมื่ออ่านกันมาถึงตรงนี้ก็น่าจะช่วยให้หลายคนเข้าใจความสำคัญและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย(จป.) ระดับบริหารกันมากขึ้น สำหรับใครที่ถูกแต่งตั้งให้เข้ารับตำแหน่งนี้ ก่อนเข้าอบรม จป บริหาร ก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลกันดู เพื่อที่จะเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หลังอบรมเสร็จเรียบร้อยและเข้ามาทำงานแล้วจะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยสูงที่สุด